eaeasy.com

รถเข็นสินค้าของคุณ




ยังไม่มีสินค้าในรถเข็นของคุณ

   

You are here: Home สาระ ความปลอดภัยในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
Decrease font size  Default font size  Increase font size 
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย PDF พิมพ์ อีเมล

 


การ ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีหลักอยู่ว่า เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าแล้ว ทำอย่างไรการใช้ไฟฟ้านั้นจึงจะเป็นการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่า ประหยัดค่าไฟฟ้า และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่รู้จักวิธีการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี ประสิทธิภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจในเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถ่องแท้จึงจะใช้เครื่องใช้ ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีได้ การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังมีผลดีต่อส่วนรวมของประเทศในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีก ด้วย
ไฟฟ้านั้นมีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ในเวลาเดียวกันก็มีอันตรายอยู่ในตัวของมันเอง ถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เพราะความประมาทหรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย อาจนำมาซึ่งความหายนะและความสูญเสียต่าง ๆ แม้กระทั่งชีวิตของผู้ใช้ไฟฟ้าเอง ผู้ใช้ไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยควบคู่ไปด้วย
   
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
1.หากสามารถเลือกได้ ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าจ้างบริษัท หรือช่างที่จะดำเนินการออกแบบ และเดินสายติดตั้งระบบไฟฟ้าว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ความรู้ความชำนาญแล้วเท่านั้น
2.อุปกรณ์การติดตั้งทางไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานต่าง ๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) , UL , VDE , IEC เป็นต้น
3.การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงฉบับล่าสุด
4.ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้ต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
5.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะทุกชนิดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจมีไฟฟ้ารั่วมากับน้ำ หากไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 2 หรือ ประเภท 3 แล้ว จำเป็นต้องมีการต่อสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับระบบสายดิน หมายถึงท่านจะต้องมีการติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้องภายในบ้าน และใช้เตาเสียบชนิดมีขั้วสายดินกับเต้ารับชนิดมีขั้วสายดินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เช่น ตู้เย็น เตารีด หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า หม้อต้มน้ำร้อน กะทะไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เตาไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ปั๊มน้ำ
6.เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอันขาด เพราะอาจมีไฟรั่วและความต้านทานต่อไฟฟ้าของผิวหนังที่เปียกชื้นจะลดลงอย่างมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก อาจทำให้เสียชีวิตได้ ข้อแนะนำในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในการอาบน้ำ นอกจากจะต้องติดตั้งสายดินแล้ว จะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย
7. ในการเดินสายไฟหรือลากสายไฟไปใช้งานนอกอาคารเป็นการชั่วคราวหรือถาวร เช่น งานก่อสร้าง, ต่อเติม, ปรับปรุงนอกอาคาร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่กันน้ำและทนทานต่อสภาวะแวด ล้อมทางกลและแสงแดดแล้ว วงจรไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วยจึงจะปลอดภัย
8. ควรแยกวงจรไฟฟ้าที่น้ำอาจท่วมถึง เช่น บริเวณชั้นล่างของอาคาร เพื่อให้สามารถปลดไฟออกได้ทันทีเมื่อเกิดน้ำท่วมหรืออาจป้องกันวงจรที่แยก ออกนี้ด้วยเครื่องตัดไฟรั่วก็ได้
9.หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เครื่องซักผ้า
เครื่องทำน้ำอุ่น
เตารีดไฟฟ้า
10.ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งผิดปกติจากสี กลิ่น เสียง และการสัมผัสอุณหภูมิ รวมทั้งการใช้เครื่องมือง่าย ๆ เช่น ไขควงลองไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการสังเกต เช่น สีของสายไฟเปลี่ยน มีกลิ่นเหม็นไหม้ มีรอยเขม่า หรือรอยไหม้ มือจับสวิตช์ไฟหรือปลั๊กไฟแล้วรู้สึกอุ่น ๆ เหล่านี้แสดงว่ามีความร้อนผิดปกติเกิดขึ้นอาจเกิดจากจุดต่อต่าง ๆ ไม่แน่น เต้าเสียบ-เต้ารับหลวม เป็นต้น
11.อย่าพยายามใช้ไฟฟ้าหรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้า เช่น พัดลมระบายอากาศในบริเวณที่มีไอของสารระเหยหรือก๊าซที่ไวไฟปกคลุมอยู่เต็มพื้นที่ เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือ ไอน้ำมันเบนซิน
12.ให้ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูกจากบางประเทศที่ผลิตแบบไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีอายุการใช้งานสั้นแล้ว อาจไม่ปลอดภัยในการใช้งานโดยเฉพาะในเรื่องของอัคคีภัย
13.อุปกรณ์ที่มีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่มีผู้ดูแล เช่น หลอดไฟทางเดินหรือบันได, หม้อแปลงไฟขนาดเล็ก (ที่เรียกกันว่าอะแดปเตอร์),เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณที่มีวัสดุที่ติดไฟได้อยู่ใกล้ ๆ
14.ทุกครั้งที่เลิกใช้เครื่องไฟฟ้า ให้ปิดสวิตช์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อน แล้วถอดปลั๊กออกจากเต้ารับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดง่าย
กระติกไฟฟ้า
15.อย่าพยายามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเองหรือโดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญไม่เพียงพอ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องมีการตรวจสอบการรั่วของคลื่นไมโครเวฟไม่ให้มีมากเกินอัตราที่กำหนด หรือเครื่องใช้ที่มีสายดินต้องตรวจสอบความต่อเนื่องและฉนวนของสายดินกับสายศูนย์ เป็นต้น
16.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วิดีโอ เครื่องเสียงคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ชำรุดเสียหาย เมื่อมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงให้ปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟ รวมทั้งสายอากาศ และสายโทรศัพท์ออกจากเครื่องทุกครั้ง
17. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยรีโมทคอนโทรลหรือปุ่มสัมผัส อิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ วิดีโอ เครื่องเสียง หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เครื่องเหล่านี้เมื่อปิดเครื่องแล้วจะยังมีไฟเลี้ยงวงจรควบคุมภายในอยู่ตลอด เวลา จึงมักมีตัวอย่างของการเกิดอุปกรณ์ควบคุมภายในชำรุด และบางครั้งทำให้เกิดไฟลุกไหม้ทรัพย์สินเสียหายอยู่เสมอ ดังนั้นจึงควรถอดปลั๊ก หรือติดตั้งวงจรสวิตช์ตัดต่อวงจร เพื่อปลดไฟออกทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
18.ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกันรวมทั้งช่วยเหลือปฐมพยาบาล เมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น
เครื่องดูดฝุ่น
โทรทัศน์
พัดลม


 

บทความจาก การไฟฟ้านครหลวง